วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

จากการสัมนาวิชาการ Virtual Desktop Infrastructure

จากสัมมนาวิชาการ "Virtual Desktop Infrastructure (VMware View4)"

ที่จัดขึ้นโดยสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยพายัพในวันที่ วันที่ 15 ตุลาคม 2553 เวลา 13.00-16.00 น. 
ผมก็มีโอกาสได้เข้าร่วม 
และขอสรุปตามความเข้าใจดังนี้

VMWare เป็นระบบเครือข่ายสำหรับองค์กร สมมุติว่า มีการนำมาใช้งานใน พายัพ แล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นจะประมาณนี้
เครื่องอาจารย์แต่ละคน เมื่อเปิดใช้งาน ก็จะ log-in เข้าระบบ
ในระบบก็จะตั้งค่าสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ตั้งแต่ OS และ application เช่น
ผู้ใช้ต้องการใช้ Windows XP และ office 2003 เมื่อ log-in เข้าระบบ ก็จะได้การทำงานของ
Windows XP และ office 2003 มาใช้งาน และเอกสารที่สร้างขึ้นก็จะเก็บไว้ในเครื่องแม่ข่าย ที่เรียกว่า data center
คำว่า V มาจากคำว่า virtual หรือ เสมือนจริง
ในเครื่องคอมฯ เดียวกัน ผู้ใช้อีกท่านมา log-in แต่ต้องการ OS เป็น Windows 7 และ Office 2010 
เมื่อ log-in เรียบร้อย เครื่องฯ ก็จะกลายเป็น Windows 7 และ Office 2010 ภายในพริบตา (ของการ log-out และ log-in)
โดยที่เครื่องฯ จะไม่ใช้ศักยภาพของ CPU ที่ตัวเครื่องเอง แต่จะไปใช้ศักยภาพของเครื่อง server
หมายความว่า เครื่องเป็น CPU pentium เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ก็สามารถใ้ช้ windows 7 และ office 2010 ได้สบาย ๆ
ยังอยู่ที่เครืื่่องเดิมนะ มี ผู้ใช้คนใหม่ log-in เข้าใช้งาน (คนเก่า log-out ออกไปแล้ว) และต้องการใช้ OS เป็น ค่าย Apple บ้าง ก็ได้เลย ทันที
ทั้ง OS และ application ก็ขึ้นอยู่กับที่มหาลัยจะซื้อลิขสิทธิ์มาใช้
เครื่องฯ ผู้ใช้แต่ละเครื่องฯ จึงทำหน้าที่เป็นเพียงหน้ากาก หรือ ร่างทรง เท่านั้น การประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล อยู่ที่เครื่องแม่ แต่เพียงผู้เดียว
เปลี่ยน scope จากเครื่อง 1 เครื่อง เป็น  40 เครื่องในห้อง lab บ้าง
อ.ท่าน 1 assignment งานเป็น excel 2003 เมื่อ นักศึกษา log-in เข้าระบบ ก็จะได้ excel 2003 มาใช้งานทันที 
ผู้ใช้แต่ละคนจึงจะมีรายละเอียดของตัวเองถูกสร้างไว้ (user profile)
เมื่อ log-out และคนใหม่ log-in เข้ามาและวิชานั่นกำหนดให้ทำกับ excel 2010 ก็ได้โปรแกรมที่ต้องการพร้อมใช้งานเลย
นั่นคือ concept ของ Virtual desktop
คือ คอมฯ แต่ละเครื่องฯ เป็นร่างทรง ของ เครื่องแม่ การทำงาน การประมวลผล จะถูกส่งไปที่เครื่องฯ แม่ ข้อมูลก็จัดเก็บไว้ที่ data center
เหตุการณ์แบบนี้จึงทำให้ เครื่องฯ ไม่มีการ hang ไม่ติดไวรัส เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นที่จุดศูนย์กลาง
หากใช้ notebook และจะเอางานกลับไปทำบ้าน ก็ทำงาน สำเนาโปรแกรมและข้อมูล ที่เีรียกว่า sync แบบ off-line ก็ได้ทุกอย่างเก็บใน notebook กลับไปทำงานต่อที่บ้าน
ตอนเช้ากลับมา ก็ update ข้อมูล หรือ ทำ sync อีกครั้งกลับไปที่ server ทุกอย่างก็จะกลายเป็นข้อมูลใหม่หมด


ลูกค้าที่อ้างอิงได้ในเชียงใหม่ มีอยู่เจ้าเดียวคือ ห้อง lab ใหม่ของ มงฟอร์ต
ส่วนที่อื่นที่วิทยากรจำได้ ก็เป็น โฮยา ที่อยุธยา 
การอบรม จัดโดย บริษัท เอ แอนด์ เอ นิโอ เทคโนโลยี จำกัด
ศรีภูมิ เชียงใหม่ 053227500-2
คุณ ธีรศักดิ์ อังกุระ Sales Executive
ก็สรุปได้ใจความประมาณนี้ครับ

13 ความคิดเห็น:

  1. ครูยุทธคะ แสดงว่า internet หรือ intranet ก็จะมาเกี่ยวข้องกับการทรงเจ้านี้ใช่มั้ยคะ ^^ ถ้าเกี่ยว..ก็จะมีคำถามคือ แล้วมันจะเวิร์กมั้ยคะเนี่ยเน็ตพายัพอ่อนแอซะขนาดนี้
    เหมือนจะเคยใช้แบบนี้แว้ปๆค่ะตอนไปเรียนต่อ แต่นั่นใช้เกี่ยวกับโปรแกรมประมวลผลทางสถิติพร้อมดึงข้อมูลตัวอย่างที่อาจารย์เตรียมไว้ให้มาใช้และเก็บงานเราไว้ในนั้น แต่จำรายละเอียดได้ไม่มากนักค่ะ

    ตอบลบ
  2. กราบขอบพระคุณคะคุณครูที่อุตส่าสรุปให้แต่แดงไม่ค่อยGetคือหมองมันไม่ค่อยรับเรื่องเทคโนโลยีคอมฯคงไม่ค่อยคุ้นเคยรู้แต่เรื่องratiofinanceกับธรรมะเท่านั้นค้ารับรู้ไวแต่เทเลคอมสมองจะเบอๆๆงงๆๆเสมอคะจะพยายามต่อไปคะสู้สู้ค้า

    ตอบลบ
  3. อ่านของครูชีวาพร ไม่เข้าใจอะไรเลย อะไรคือการทรงเจ้า งงครับ ส่วน net payap อ่อนแอนั่น ตอนนี้เขาบอกว่ากำลังปรับปรุงครับ จะใช้งบประมาณมากหน่อย ยังไงก็ฝากทุกคน โดยเฉพาะฝ่ายบริหารสูงสุด ให้ขยัน complain เมื่อเจอเจ้าหน้าที่ศูนย์คอมฯ ก็เป็นทางเดียวที่พอจะทำกันได้ในตอนนี้ครับ

    ตอบลบ
  4. หากนำระบบนี้มาใช้ เครื่องครูแดงก็จะสามารถ run windows 7 ได้ และทำงานได้เร็ว ว่องไวครับ เพราะการประมวลผลจะเกิดที่เครื่องแม่ครับ

    ตอบลบ
  5. ก็ครูยุทธบอกว่าคอมแต่ละเครื่องก็เหมือนร่างทรงของคอมตัวหลักไงคะ อิ่มก็เลยเรียกกระบวนการของมันว่าการทรงเจ้าซะเลย

    ตอบลบ
  6. ขอบพระคุณคะคุณครูสรุปว่าเร็วว่องไวสมใจแดงเลยละยังงี้เข้าใจง่ายดีคะ

    ตอบลบ
  7. ตามมุขไม่ทัน ขออภัย 5

    ตอบลบ
  8. OK ครับไอเดียทันสมัยมาก

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ26 ตุลาคม 2553 เวลา 11:25

    ดีค่ะ

    ตอบลบ
  10. ไอเดียดีนะคะ น่าสนใจมากค่ะ

    ตอบลบ